เมนู

กรุงสาวัตถีราชธานี ถึงความเจริญไพบูลย์มั่งคั่ง
รุ่งเรื่อง น่าระรื่นใจ ดังกรุงอาฬกมันทาเทพธานีของ
เหล่าทวยเทพ ฉะนั้น.

ใกล้กรุงสาวัตถีนั้น คำนี้เป็นสัตตมีวิภัตติ ลงในอรรถว่าใกล้.
คำว่า วิหรติ นี้ เป็นคำแสดงความพร้อมด้วยวิหารการอยู่ บรรดา
อิริยาบถวิหาร ทิพวิหาร พรหมวิหาร และอริยวิหาร แบบใดแบบทนึ่ง
โดยไม่แปลกกัน แต่ในพระสูตรนี้ แสดงความประกอบพร้อมด้วยอิริยาบถ.
วิหาร ในบรรดาอิริยาบถต่างโดยยืน เดิน นั่ง นอน อิริยาบถหนึ่ง. ด้วย
เหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืนก็ดี ทรงดำเนินก็ดี ประทับนั่งก็ดี
บรรทมก็ดี ก็พึงทราบว่า วิหรติ อยู่ทั้งนั้น. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
นั้น ทรงตัดความลำบากแห่งอิริยาบถอย่างหนึ่งด้วยอิริยาบถอีกอย่างหนึ่ง
[เปลี่ยนอิริยาบถ] ทรงบริหารอัตภาพให้เป็นไปไม่ลำบาก เพราะฉะนั้น จึง
เรียกว่า วิหรติ ประทับอยู่.

แก้อรรถบท เชตวเน


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า เชตวเน นี้ ดังนี้. พระราชกุมารชื่อว่า
เชตะ เพราะชนะชนผู้เป็นศัตรูของตน หรือว่า เชตะ เพราะประสูติ เมื่อ
พระราชาทรงชนะชนผู้เป็นศัตรู หรือว่า ชื่อว่า เชตะ แม้เพราะพระราชา
ทรงขนานพระนามอย่างนี้แก่พระราชกุมาร เพราะมีพระราชประสงค์จะให้เป็น
มงคล. ที่ชื่อว่า วนะ เพราะให้คบหา อธิบายว่า ให้ทำความภักดีแก่ตน
เพราะความถึงพร้อมแห่งตน คือให้เกิดความรักในตน. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า
วนะ เพราะเรียกร้อง อธิบายว่า ประหนึ่งว่า วอนขอสัตว์ทั้งหลายว่า เชิญ
มาใช้สอยเราเถิด. วนะของเชตราชกุมาร ชื่อว่า เชตวัน. จริงอยู่ เชตวัน

นั้น อันพระราชกุมารพระนามว่า เชตะ ปลูกสร้างบำรุงรักษา. เชตราชกุมาร
นั้นเป็นเจ้าของเชตวันนั้น เพราะฉะนั้น จึงเรียกกันว่าเชตวัน. ในพระเชตวัน
นั้น.

แก้อรรถบท อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม


พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม นี้ ดังนี้.
คฤหบดีนั้น ชื่อสุทัตตะ โดยบิดามารดาตั้งชื่อให้ อนึ่งท่านได้ให้ก้อนข้าวเป็น
ทานแก่คนอนาถาเป็นประจำ เพราะท่านเป็นคนปราศจากมลทินคือความตระหนี่
และเพราะเป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยคุณ มีกรุณาเป็นต้น เหตุท่านเป็นผู้มั่งคั่งด้วย
สมบัติที่น่าปรารถนาทุกอย่าง ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงได้รับขนานนามว่า อนาถ-
ปิณฑิกะ.
ประเทศที่ชื่อว่า อาราม เพราะเป็นที่สัตว์ทั้งหลาย หรือโดย
เฉพาะอย่างยิ่งบรรพชิตทั้งหลายพากันมาอภิรมย์ อธิบายว่า บรรพชิตทั้งหลาย
พากันมาจากที่นั้น ๆ ยินดีอภิรมย์ อยู่อย่างไม่เบื่อหน่าย เพราะพระเชตวันนั้น
งดงามด้วยดอกไม้ ผลไม้ ใบไม้อ่อนเป็นต้น และเพราะถึงพร้อมด้วยองค์ของ
เสนาสนะ 5 ประการ มีไม่ไกลเกินไปไม่ใกล้เกินไปเป็นต้น. อีกประการหนึ่ง
ชื่อว่าอาราม เพราะน้ำท่านที่ไปในที่นั้น ๆ มาภายในของตนแล้วยินดี เพราะ
สมบัติดังกล่าวมาแล้ว . จริงอยู่ อารามนั้น อันท่านอนาถปิณฑิกคฤหบดี
ชื่อจากพระหัตถ์ของเขตพระราชกุมาร ด้วยปูเงิน 18 โกฏิ ให้สร้างเสนาสนะ
เป็นเงิน 18 โกฏิ เสร็จแล้วฉลองวิหารเป็นเงิน 18 โกฏิ มอบถวายพระภิกษุ
สงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน ด้วยบริจาคเงิน 54 โกฏิ อย่างนี้ เพราะ
ฉะนั้น จึงเรียกกันว่า อารามของท่านอนาถปิณฑิกะ. ในอารามของ
อนาถปิณฑิกะนั้น.
ก็ในคำเหล่านั้น คำว่า เชตวเน ระบุถึงเจ้าของตนก่อน คำว่า
อนาถปิณฑิกสฺส อาราเม ระบุถึงเจ้าของตนหลัง. มีคำทักท้วงว่า ในการ